พร้อมทดสอบวัดระดับฟรี
7651 VIEWS | 5 MINS READ Tuesday 28 / 07 / 2020
---------------------------------------
คุยกับ คุณหมี - ไพลิน ชัยพฤกษ์นุกูล
Project Coordinator
พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อเปิดประสบการณ์ให้เด็กไทยด้วยละครเวที
เมื่อพูดถึงละครเวที คนส่วนมากก็มักนึกถึงในแง่ของความสนุก ความแฟนตาซี การเต้นและการร้อง แต่ในแง่ของผู้จัดแล้วมีอีกหนึ่งเป้าหมายที่ต้องทำให้สำเร็จ คือ เมื่อโชว์จบ ผู้ชมได้รับสารอะไรจากโชว์บ้าง โดยเฉพาะการทำละครเวทีกับ ‘เด็ก’ ด้วยแล้ว อะไรที่เป็นปัจจัยสำคัญและเป็นสเน่ห์ของละครเวทีที่ทำให้ คุณหมี - ไพลิน ชัยพฤกษ์นุกูล Project Coordinator วัย 24 ปี หลงรักการทำงานในสายนี้
ตำแหน่ง Project Coordinator ทำอะไรบ้าง?
หน้าที่ของหมีคือ Project Coordinator ค่ะ หลักๆ ตอนนี้หมีแบ่งการทำงานออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นเหมือนผู้ช่วยในการประสานงาน และอีกส่วนหนึ่งเป็นการคิดไอเดียของโปรเจคขึ้นมา นำเสนอ และก็ต้องดูแลโปรเจคให้ราบรื่นตั้งแต่ต้นจนจบค่ะ
ทำไมถึงมาทำละคร?
ตั้งแต่สมัยเรียน หมีเลือกเรียนศิลปกรรมศาสตร์ เอกการละครเวที ก็คือเรียนเน้นที่ละครเวทีเลยล่ะ ซึ่งประสบการณ์สมัยเรียนส่วนใหญ่จะเน้นไปทาง Production คือทำละครเวทีอ่ะเนอะ ก็เลยมีงานเกี่ยวกับส่วนของ Production ค่อนข้างเยอะ แล้วก็ตอนอยู่มหาลัยหมีชอบทำค่าย ซึ่งเวลาเราจัดค่ายเราก็มีส่วนได้มาทำเกี่ยวกับเด็ก เป็นการนำละครมาใช้เพื่อช่วยในเรื่องของการเรียนรู้ของเด็ก มันเรียกว่า Creative Drama ซึ่งเนื้อหาก็จะมีหลากหลายค่ะ ถ้าง่ายๆ ก็เช่นสอนการล้างมือ เจ้าตัวเชื้อโรคเป็นยังไง ล้างมือให้ถูกวิธีทำยังไง หรือที่ยากขึ้นไปอีก เช่นสอนเรื่องการออม ความมีน้ำใจ ซึ่งเราต้องวางแผนในการสร้างกระบวนการให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เรื่องที่เป็นนามธรรม เอาออกมาเป็นภาพให้จับต้องได้ง่าย ทีนี้พอเรียนจบก็เลือกทำงานด้านการจัดแคมป์ จัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ เหมือนกัน ซึ่งโจทย์ก็จะต่างกันกับสมัยมหาลัย
Creative Drama หลักการคืออะไร?
มันคือกระบวนการในการสร้าง โดยเป็นการคิดแบบย้อนกลับ เป็น Backward Design คือการคิดจากกระบวนการสุดท้ายที่น้องจะได้รับ เช่นถ้าเราต้องการทำให้เด็ก ๆ เข้าใจการทำละครเวทีนะคะ จุดสุดท้ายคือน้องต้องแสดงละครเวทีได้ เพราะฉะนั้นกระบวนก็จะต้องให้น้องได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ ของละคร การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการแสดง วิธีพูดบทละคร พูดกับเพื่อน พูดกับตัวเอง ตอบโต้ได้ มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก เราก็ต้องคิดกิจกรรมให้สัมพันธ์กับช่วงวัยของเค้า หรือถ้าเราอยากสอนให้น้องเรียนรู้เกี่ยวกับการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เราก็ต้องมาดีไซน์ว่าความเห็นใจมันเป็นอย่างไร เป็นภาพหรือเป็นเวิร์คชอปยังไง ให้น้องจับมันจากมุมไหน
ทำงานกับเด็กยากไหม?
หมีมองว่ามันชาเล้นจ์เรานะคะ ด้วยความที่เด็ก ๆ เค้ายังมีข้อจำกัดของชีวิตน้อย ก็จะมีจินตนาการ ความฟุ้ง เราที่เป็นผู้ใหญ่จึงต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และความละเอียดอ่อนสูงมากในการเข้าไปอยู่ในโลกเดียวกับเด็ก ๆ ให้ได้ก่อน แล้วการที่เราทำกิจกรรมกับชีวิตคนหนึ่งชีวิต เรื่องราวพวกนี้มันจะติดตัว หรือติดอยู่ในความทรงจำของเด็กแต่ละคนไปตลอด ซึ่งนี่คือความท้าทาย และเป็นสิ่งที่เราต้องคิดให้รอบคอบ ว่าเราจะให้เขาจดจำหรือมีฐานความคิดอย่างไร หรือมีความรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่เราจัดขึ้น ซึ่งถ้าเราทำให้เกิดการผิดพลาดขึ้นมา มันก็จะทำให้สิ่งเหล่านี้ติดอยู่ในความทรงจำเขาไปด้วย แล้วอีกอย่างถ้าเราไม่ละเอียดกับมันให้มาก เด็ก ๆ เขาก็จะเรียนรู้สิ่งที่ผิดไป และนำไปใช้ในทางที่ผิด หรือก่อให้เกิดผลเสียในอนาคต หมีมองว่ามันยากนะ แต่เวลาทำออกมาดีมันภูมิใจมากเลยค่ะ
จากห้องเรียนมาสู่โลกการทำงาน
หมีทำค่อนข้างตรงสายนะคะ เพิ่มมาก็คือในส่วนของอีเว้นท์ ทีนี้จากโจทย์ที่เราเคยทำละครยาว ๆ มันก็จะต้องมาเจอโปรเจ็คที่เป็น 1 day camp บ้าง หรือบางทีก็แค่ครึ่งวัน มันก็ต้องพยายามดีไซน์ประสบการณ์ให้สนุกและน้องได้รับความรู้ภายในเวลาที่จำกัดมากขึ้น แต่ที่หมีพบว่าเป็นอุปสรรคคือปกติเวลาที่หมีจัดค่าย เราจะทำทุกอย่างเป็นภาษาไทย แต่พอเรามาเป็น Project Coordinator ที่นี่ มันมีโจทย์เพิ่มว่าเราต้องสอนเรื่องต่างๆ โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือด้วย เราเปลี่ยนวิธีการนำเสนอในแคมป์รูปแบบใหม่ เราทำทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษ มันทำให้หมีต้องขุดสกิลทุกอย่างออกมาใช้ เพราะมันไม่ใช่แค่ว่าเราต้องคิดแคมป์ให้น้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เราจะต้องสื่อสารกับโค้ชชาวต่างชาติ ทั้งทีมงานที่จะมาเป็นคนนำกิจกรรม อันนี้หมีต้องติดต่อเองทั้งหมด ซึ่งในการติดต่อแต่ละครั้งเมื่อเราไม่มีความชำนาญ หรือใช้ภาษาอังกฤษไม่ดีพอ มันก็ส่งผลต่อกิจกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้คนที่นำกิจกรรม คิดกิจกรรมมาไม่ตรงตามที่เราต้องการ หรือมีการตกหล่น เพราะเราสื่อสารได้ไม่ครบ อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ต้องกลับมารีสกิลตัวเอง
จุดไหนที่คิดว่าต้องเรียนภาษาอังกฤษแล้วจริงๆ
จากที่เล่าไปหมีก็อยากพัฒนาภาษาอังกฤษแล้วใช่ไหมคะ แต่จุดที่ทำให้หมีตั้งใจเปลี่ยนจริงๆ คือแคมป์ที่เราทำกับเด็กพิเศษ (เด็กที่มีความต้องการพิเศษ) ซึ่งการทำกิจกรรมกับน้อง ๆ จะค่อนข้างต้องเซนซิทีฟมากๆ มีข้อจำกัด และข้อควรระวังในการทำกิจกรรมด้วยค่อยข้างมาก ทีนี้หมีเลยต้องระวังในการทำงาน ซึ่งตอนนั้น เราไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี หมีจึงได้ทำในตำแหน่ง Staff ที่ค่อยช่วยดูแลความเรียบร้อยอยู่ข้างนอก ซึ่งตรงนั้นทำให้เรารู้สึกว่า เราอยากเข้าไปข้างใน เราอยากพูดได้ อยากบอกได้ว่าควรทำยังไง Passion ที่เรามีต่อการทำงานนั้นทำได้ไม่เต็มที่ หรือเรียกได้ว่าเราไม่สามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้ หมีเลยไม่อยากให้สิ่งนี้มาเป็นอุปสรรค์ของหมี เลยตัดสินใจว่าจะต้องพัฒนาภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างสมบูรณ์แบบ
วิธีการเรียนรู้ของคุณหมีเป็นอย่างไร?
ในตอนแรกที่ยังไม่เจอโกลบิช หมีเรียนรู้ด้วยตัวเอง ด้วยการดูยูทูป ดูหนัง และเรียนจากอีเลิร์นนิ่งต่างๆ ซึ่งถามว่ามันช่วยพัฒนาหรือไม่ มันช่วยได้ แต่ค่อนข้างช้า และเมื่องานเราเยอะขึ้น เราก็ไม่ค่อยมีเวลาที่จะไปเรียน แต่พอมาเจอโกลบิช ที่การเรียนมีหลักสูตร ที่ทำให้เราพัฒนาได้อย่างเป็นระบบมันทำให้หมีพัฒนาภาษาอังกฤษได้เร็ว แบบ 6 เดือนคือหมีเห็นความต่างชัดเลย ตอนนี้ถามว่ามั่นใจไหม ตอบเลยว่ามั่นใจกว่าแต่ก่อนมาก มันทำให้เรากล้า คิดแล้วพูดเลย และภาษาที่ใช้ก็เป็นมืออาชีพ เวลาเราประสานงานกับต่างชาติเค้าก็ฟังเรามากขึ้น เข้าใจเราได้เร็วขึ้น และทำให้งานของหมีดำเนินไปได้ราบรื่น
เด็ก ๆ เรียนรู้ ตัวเราเองก็ได้เรียนรู้เหมือนกัน
ใช่ค่ะ เราทำละครมาเราก็อยากให้น้อง ๆ ได้ความรู้ แต่นอกเหนือจากความรู้แล้วคือการรู้จักตัวเอง เข้าใจตัวเองมากขึ้น ซึ่งเราเองก็ได้ภาพสะท้อนของตัวเองกลับมาจากการทำงานเหมือนกันว่าเรายังขาดอะไรไป หมีก็รู้สึกเหมือนหมีต้องเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับน้อง ๆ กับโลกที่เปลี่ยนไป กับการเติมเต็มตัวเองให้สมบูรณ์ขึ้น มีอะไรให้เรียนรู้เยอะเลยค่ะ แต่ตอนนี้ขอเก่งภาษาเป็นอันดับแรกก่อนนะคะ จะได้เปิดโลกให้มากกว่านี้อีก
--- Project Coordinator
คุณหมี - ไพลิน ชัยพฤกษ์นุกูล (24 ปี)
นักเรียนปัจจุบันโกลบิช
คอร์ส Business English ระดับ G5
------------------------------
สนใจพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน ลงชื่อเพื่อขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางด้านการเรียนที่จะช่วยวัดระดับทักษะการพูดของคุณ และแนะนำคอร์สฝึกพูดที่เหมาะกับคุณได้ที่นี่ ลงทะเบียนรับคำแนะนำ