Postmethod Pedagogy การสอนแบบใหม่ที่จะเปลี่ยนให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษ

4086 VIEWS | 10 MINS READ Tuesday 10 / 03 / 2020


Postmethod Pedagogy การสอนแบบใหม่ที่จะเปลี่ยนให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษ 

 

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับวิธีการสอนในรูปแบบต่างๆ แล้ว ก็จะเห็นได้ว่าในแต่ละรูปแบบก็ยังมีข้อจำกัด หรือข้อบกพร่องอยู่ นี่ถึงเป็นจุดกำเนิดของวิธีการสอนแบบใหม่ ที่เรียกว่า Postmethod Pedagogy โดย คำว่า Postmethod เป็นการรวมคำว่า Post ที่แปลว่า ‘หลัง’ และ method ที่แปลว่า ‘วิธี ระเบียบ แบบแผน’ ได้เป็นชื่อแนวคิดที่นำเสนอโดย Kumaravadivelu (คูมาราวาดิเวลู) ที่หมายถึง การจัดการเรียนการสอนแบบยุคหลังระเบียบแบบแผนการสอน 

 

แนวคิดนี้เริ่มต้นมาจากการที่การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมในยุคก่อน ๆ นั้นให้ผลที่ไม่น่าพอใจ หรือไม่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ถ้าพูดถึงการสอนภาษาอังกฤษในยุคก่อน ๆ เช่น Grammar-translation method (การสอนเน้นแกรมม่าและการแปล), Audio-lingual method (การสอนที่เน้นการออกเสียง และเชื่อว่าการเรียนภาษาที่สองเหมือนการเรียนภาษาแรกที่เรียนรู้จากการฟัง พูด), หรือแม้แต่การเรียนการสอนที่เพิ่งเป็นกระแสใหม่ในไทยเมื่อไม่นานมานี้อย่าง Communicative Language Teaching ที่เน้นการสื่อสาร ต่างก็มีข้อจำกัด ที่ทำให้ผู้เรียนภาษา ยังไม่สามารถใช้ภาษาได้เต็มประสิทธิภาพ

 

คูมาราวาดิเวลู จึง เสนอแนวคิดการจัดการเรียนการสอนภาษา ที่ไม่ยึดระเบียบแผนวิธี โดยที่คำนึงถึง 3 ประเด็นหลัก คือ 

1) particularity ความเฉพาะเจาะจง 

2) practicality การนำไปใช้ได้จริง

3) possibility ความเป็นไปได้

 

แนวคิดนี้เชื่อว่า การใช้หนังสือเรียนที่ออกแบบโดยผู้เขียนในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก หรือหนังสือเรียนสำนักพิมพ์ดัง ๆ ที่ใช้กันทั่วโลก ยังไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากความแตกต่างทั้งความต้องการของผู้เรียน วัฒนธรรม และอื่น ๆ มากมาย เช่น นักเรียนที่เป็นคนไทย อาจจะรู้สึกว่าเนื้อหาในหนังสือเหล่านั้นไม่เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับตน เมื่อเรียนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับกีฬาที่ตนไม่รู้จัก หรือไม่เป็นที่นิยมกันในประเทศไทย ดังนั้นผู้สอน ผู้ออกแบบหลักสูตร ควรเป็นผู้เลือกเนื้อหา หรือ เอกสารการเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียน อาจจะใช้วิธีการออกแบบใหม่ ด้วยการ contextualize เนื้อหา หรือ เลือกบทเรียนจากหลาย ๆ แหล่ง ที่คิดว่าเหมาะสมกับนักเรียนในบริบทนั้นมากที่สุด โดยคำนึงถึง context-sentitive 

 

นอกจากนี้ practicality หรือการนำไปใช้จริงก็เป็นสิ่งผู้สอนควรคำนึงถึง โดยการปรับทฤษฎี ให้การเป็น แนวทางการปฎิบัติที่ใช้ได้จริง และเหมาะสมกับกลุ่มนักเรียนของตนเอง โดยการเรียนการสอน ควรเป็น on-going theory หรือทฤษฎีที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะความต้องการของผู้เรียน บริบท และการเรียนรู้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

 

ความเป็นไปได้ในการใช้แนวคิดนี้ ยังเน้นเรื่อง power หรือ อำนาจการผู้เรียน และ ผู้สอน ซึ่งหมายถึง ผู้สอนมีอำนาจในการเลือกสิ่งที่เหมาะสม และในขณะเดียวกัน นักเรียนควรมีอำนาจในการเลือกเรียนด้วยตนเอง เช่น การเลือกวิธีการเรียน เวลาการเรียน pace ของการเรียน ที่เหมาะสมกับตนเอง ซึ่งทำให้เกิด motivation และการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

 

Globish สถาบันสอนภาษาอังกฤษสำหรับวัยทำงานด้วยหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจากประเทศฟินแลนด์ เพื่อพัฒนาให้คุณพูดภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง มั่นใจ

อ่านรายละเอียดหลักสูตรได้ที่ : http://bit.ly/2vdVgAC

 

ค้นหาคอร์สที่เหมาะกับคุณ
พร้อมทดสอบวัดระดับฟรี


   หรือ    โทรเลย 02-026-6683

บทความที่แนะนำ


วัยทำงาน

เปิดเสรีอาเซียน เตรียมพร้อมภาษาอังกฤษยังไงดี?

วัยทำงาน

4 เทคนิคที่ต้องรู้...บริการอย่างไรให้ได้ใจลูกค้าต่างชาติ!

วัยทำงาน

ทำความรู้จัก Postmethod Pedagogy ว่าคืออะไร ? ดีจริงไหม ?