พร้อมทดสอบวัดระดับฟรี
5571 VIEWS | 2 MINS READ Monday 21 / 10 / 2019
Postmethod Pedagogy - การสอนแบบ Postmethod
คำว่า Postmethod เป็นการรวมคำว่า Post ที่แปลว่า ‘หลัง’ และ method ที่แปลว่า ‘วิธี ระเบียบ แบบแผน’ ได้เป็นชื่อแนวคิดที่นำเสนอโดย Kumaravadivelu (คูมาราวาดิเวลู) ที่หมายถึง การจัดการเรียนการสอนแบบยุคหลังระเบียบแบบแผนการสอน
แนวคิดนี้เริ่มต้นมาจากการที่การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมในยุคก่อนๆ นั้นให้ผลที่ไม่น่าพอใจ
หรือ ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ถ้าพูดถึงการสอนภาษาอังกฤษในยุคก่อนๆ
เช่น Grammar-translation method (การสอนเน้นแกรมม่า และการแปล), Audio-lingual method (การสอนที่เน้นการออกเสียง และเชื่อว่าการเรียนภาษาที่สองเหมือนการเรียนภาษาแรก), หรือ แม้แต่การเรียนการสอนที่เพิ่งเป็นกระแสใหม่ในไทยอย่าง Communicative Language Teaching ที่เน้นการสื่อสาร ต่างก็มีข้อจำกัด ที่ทำให้ผู้เรียนภาษา ยังไม่สามารถใช้ภาษาตามที่ต้องการได้
คูมาราวาดิเวลู จึงเสนอแนวคิดการจัดการเรียนการสอนภาษา ที่ไม่ยึดระเบียบแผนวิธี โดยที่คำนึงถึง 3 ประเด็นหลัก คือ
1) particularity ความเฉพาะเจาะจง
2) practicality การนำไปใช้ได้จริง
3) possibility ความเป็นไปได้
แนวคิดนี้เชื่อว่าการใช้หนังสือเรียนที่ออกแบบโดยผู้เขียนในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็น
ภาษาแรก หรือหนังสือเรียนสำนักพิมพ์ดังๆ ที่ใช้กันทั่วโลก ก็อาจจะยังไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากความแตกต่างทั้งความต้องการของผู้เรียน วัฒนธรรม และ อื่นๆ มากมาย
เช่น นักเรียนที่เป็นคนไทย อาจจะรู้สึกว่าเนื้อหาในหนังสือเหล่านั้นไม่เกี่ยวข้อง หรือสอดคล้องกับตน เมื่อเรียนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับกีฬาที่ตนไม่รู้จัก หรือ ไม่เป็นที่นิยมกันในประเทศไทย ดังนั้นผู้สอน ผู้ออกแบบหลักสูตร ควรเป็นผู้เลือกเนื้อหา หรือ เอกสารการเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียน อาจจะใช้วิธีการออกแบบใหม่ ด้วยการ contextualize เนื้อหา หรือ เลือกบทเรียนจากหลายๆ แหล่ง ที่คิดว่าเหมาะสมกับนักเรียนในบริบทนั้นมากที่สุด โดยคำนึงถึง context-sentitive
นอกจากนี้ practicality หรือการนำไปใช้จริงก็เป็นสิ่งผู้สอนควรคำนึงถึง โดยการปรับทฤษฎี ให้เป็นแนวทางการปฎิบัติที่ใช้ได้จริง และเหมาะสมกับกลุ่มนักเรียนของตนเอง โดยการเรียนการสอน ควรเป็น on-going theory หรือทฤษฎีที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะความต้องการของผู้เรียน บริบท และการเรียนรู้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ