พร้อมทดสอบวัดระดับฟรี
26207 VIEWS | 3 MINS READ Thursday 01 / 10 / 2020
ข้อแตกต่างระหว่างภาษาจีน กับ ภาษาอังกฤษ
สองภาษาที่คนใช้สื่อสารกันเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก คงหนีไม่พ้นภาษาจีนและภาษาอังกฤษ และคงพูดได้ว่าคนไทยมีความคุ้นเคยกับอย่างหลังมากกว่านะคะ เพราะหลักสูตรการเรียนในไทยมีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นหลักตั้งแต่ยังเด็ก แม้ในปัจจุบันหลาย ๆ โรงเรียนจะเริ่มแทรกภาษาจีนเข้ามาให้เด็ก ๆ ได้เรียนกันมากขึ้นแล้วแต่ก็คงยังไม่แพร่หลายเท่าภาษาอังกฤษนั่นเอง
ภาษาจีนและภาษาอังกฤษมีความสำคัญพอ ๆ กันเมื่อเทียบกับโอกาสที่คุณจะได้รับในอนาคต ทั้งการเรียนต่อหรือการทำงาน ทำธุรกิจ สำหรับใครที่รู้ภาษาอังกฤษอยู่แล้ว แต่แอบสนใจอยากเรียนภาษาจีนเพิ่มเติม และอยากรู้ว่าสองภาษานี้แตกต่างกันอย่างไรบ้าง วันนี้ทาง Globish Chinese ได้สรุปมาให้คุณทำความเข้าใจกันแบบง่าย ๆ กันค่ะ
‘ตัวอักษร’
เพราะคนไทยคุ้นเคยกับตัวอักษรภาษาอังกฤษมาทั้งชีวิต การได้เห็นตัวอักษรจีนเป็นครั้งแรกก็มักจะตกใจอยู่ไม่น้อยใช่ไหมคะ ภาษาจีน มีระบบตัวอักษรที่ไม่สามารถสะกดและอ่านได้แบบภาษาอังกฤษ เพราะตัวอักษรจีนใช้ระบบรูปภาพและสัญลักษณ์ ไม่มีพยัญชนะ (Alphabet) อย่าง A, B, C, D ยกตัวอย่างเช่น หากเราเจอคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ไม่รู้จักมาก่อน แต่เรายังสามารถสะกดและอ่านออกเสียงได้ กลับกันถ้าเจอคำศัพท์ภาษาจีนที่ไม่รู้จัก ก็จะไม่สามารถอ่านได้นั่นเอง ดังนั้นการจดจำและเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนจึงมีความท้าทาย แต่ก็มีความสำคัญมาก
‘การออกเสียง’
ภาษาจีนมีระบบการออกเสียงที่คล้ายกับระบบวรรณยุกต์ของไทย แถมง่ายกว่าอีกด้วยเพราะมีเพียง 4 เสียง ได้แก่ ( ¯, ˊ, ˇ, ˋ ) โดยอธิบายได้ดังนี้
bā (เทียบเท่าเสียงสามัญ) อ่านว่า ปา
bá (เทียบเท่าเสียงจัตวา) อ่านว่า ป๋า
bǎ (เทียบเท่าเสียงเอก) อ่านว่า ป่า
bà (เทียบเท่าเสียงโท) อ่านว่า ป้า
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า คนไทยที่หัดเรียนจีนจะรู้สึกว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหา ขณะที่ระบบการออกเสียงภาษาอังกฤษมีความไม่แน่นอน บ่อยครั้งที่เสียงกับรูปคำไม่ตรงกันทำให้หลาย ๆ คนออกเสียงผิดกันมาแล้ว อาทิ a ที่เป็นสระภาษาอังกฤษ บางคำเป็นสระเอ ‘may’ บางคำเป็นสระแอ ‘sand’ บางคำเป็นสระอา ‘karate’
ถ้าใครเคยสังเกตตัวอักษรแปลก ๆ ในดิกชันนารีภาษาอังกฤษ ที่เขียนกำกับไว้หน้าคำศัพท์แต่ละคำ นั่นคือ สัทศาสตร์ (Phonetics) นั่นเองค่ะ ซึ่งเป็นระบบคำที่สร้างมาเพื่อใช้บอกวิธีการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง
ในด้านการออกเสียงภาษาอังกฤษยังมีความซับซ้อนในเรื่องสำเนียงของคนแต่ละพื้นที่อีกด้วย คำศัพท์เดียวกันแต่คนบริติชกับคนอเมริกันยังออกเสียงต่างกัน
‘ไวยากรณ์’
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหาที่คนไทยเจอเวลาเรียนภาษาอังกฤษ คือการจดจำ Tense และการผันกริยาสามช่อง ซึ่งน้อยคนที่จะใช้ได้อย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์เป๊ะ อีกทั้งฝรั่งยังนิยมใช้ประโยค Passive voice บ่อยพอ ๆ กับ Active voice ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยไม่คุ้นเคย
กลับกันในไวยากรณ์จีนถือว่าง่ายมาก และภาษาจีนมีโครงสร้างประโยคคล้ายภาษาไทย ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาในการทำความเข้าใจ หลัก ๆ คือ ภาคประธาน + ภาคแสดง (กริยา,คำคุณศัพท์) + กรรม ตัวอย่างเช่น
我是泰国人.
Wǒ shì tàiguó rén.
ฉันเป็นคนไทย
อีกทั้งภาษาจีนยังไม่มีระบบ Tense เหมือนภาษาอังกฤษ นั่นทำให้ ต่อให้พูดถึงอดีตหรืออนาคต เราก็ไม่จำเป็นต้องผันกริยาให้ยุ่งยาก ที่ต้องทำมีเพียงแค่เติมคำบอกเวลาเข้าไปตัวเดียวเท่านั้นค่ะ
คนไทยจะรู้สึกว่าสิ่งที่ท้าทายอย่างเดียวในการเรียนภาษาจีนคือคำศัพท์ค่ะ ยิ่งเรียนรู้และจดจำได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี ส่วนเรื่องไวยากรณ์และการออกเสียงมักไม่มีปัญหา แต่การเรียนภาษาอังกฤษก็กลับกัน สิ่งที่ยากคือระบบไวยากรณ์และวิธีการออกเสียงคำศัพท์ เสียงสูงต่ำ (Intonation) ในประโยคต่าง ๆ
สำหรับคนวัยทำงานที่อยากพัฒนาทักษะภาษาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานในอนาคต การเลือกเรียนภาษาจีนสามารถตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้ดีไม่แพ้ภาษาอังกฤษเลยนะคะ หากให้ดีควรเลือกเรียนและพัฒนาควบคู่กันไปทั้งสองภาษา
สำหรับใครที่สนใจภาษาจีน แต่ไม่อยากเรียนด้วยตัวเองสามารถพัฒนาภาษาจีนด้วยคอร์สเรียน Globish Chinese สถาบันสอนภาษาจีนออนไลน์ ได้ออกแบบการเรียนรู้ภาษาจีนมาเพื่อฝึกทักษะฟัง-พูดโดยเฉพาะ ซึ่งช่วยให้คุณไม่ต้องท่องจำ ไม่ต้องคัดลายมือ เป็นการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ผ่านหลักสูตรที่พัฒนามาเพื่อคนไทย ลงทะเบียนคอร์สเรียนสำหรับผู้ใหญ่ ลงทะเบียนคอร์สเรียนสำหรับเด็ก
เรียนภาษาจีนออนไลน์ เพิ่มทักษะการสื่อสารให้กับทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยเรียน หรือวัยทำงาน ครบทุกเป้าหมายการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนภาษาจีนเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียนภาษาจีนเพื่อการทำงาน การเรียนภาษาจีนเพื่อการสอบ HSK รายละเอียดคอร์สเรียน