พร้อมทดสอบวัดระดับฟรี
32761 VIEWS | 4 MINS READ Monday 03 / 02 / 2020
การพรีเซนต์งานเป็นภาษาอังกฤษนั้นต้องอาศัยการฝึกฝน แม้แต่นักพูดเก่งๆ อย่าง Abraham Lincoln, Nelson Mandela, Martin Luther King หรือ Steve Jobs เอง ก่อนที่จะชำนาญในการพูด อภิปราย ก็ต้องผ่านการฝึกฝนทักษะ public speaking มาทั้งนั้น วันนี้เรามีเคล็ดลับในการพรีเซนต์งานเป็นภาษาอังกฤษอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
การพูดต่อหน้าคนหลายๆ คนเป็นเรื่องที่หลายๆ คนก็เครียด แต่การนึกถึงดีเทลเล็กๆ น้อยๆ ล่วงหน้า อย่างสถานที่ บรรยากาศในห้อง สไลด์ เนื้อหา เวลาในการนำเสนอ หรือแม้แต่ว่าคุณจะแต่งตัวอย่างไรในวันนั้น จะช่วยให้ลดความตึงเครียดลงได้เยอะ
- พรีเซนเทชั่นนี้เกี่ยวกับอะไร? และเป้าหมายคืออะไร?
- ผู้ฟังเป็นแบบไหน?
- หาข้อความหลัก หรือประโยคหลัก ของพรีเซนเทชั่น
- วางโครงสร้างของพรีเซนเทชั่น ทั้ง introduction เนื้อหาหลัก และสรุป
- ใช้คำศัพท์พื้นฐาน เพื่่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ของทั้งผู้ฟัง และผู้พูดเอง
- เตรียมตัวรับมือคำถามที่ผู้ฟังอาจจะมี หลังจากจบการนำเสนอ
- เวลาในการนำเสนอไม่ควรเกิน 15 นาที ดังนั้นควรทำพรีเซนเทชั่นง่ายๆ ไม่เกิน 20 สไลด์ เน้นข้อมูลจากผู้พูดเป็นหลัก และควรใช้ฟอนต์ตัวหนังสือที่สามารถอ่านจากระยะไกลได้ชัดเจน
- อย่าใส่ข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือเยอะเกินไป ไม่มีใครมีเวลามานั้งอ่านหรอก เน้นเนื้อหาที่เป็นรูปภาพ กราฟ หรือวิดีโอ ที่จะช่วยให้ผู้ฟังเห็นภาพ หรือเข้าใจเนื้อหาที่คุณกำลังจะสื่อได้ง่ายขึ้น
ในช่วงต้นของการนำเสนองาน ควรกล่าวทักทายผู้ฟัง แนะนำตัวเองด้วยน้ำเสียงร่าเริง แจ่มใส เพื่อดึงดูดผู้ฟัง และกล่าวถึงเนื้อหาในพรีเซนเทชั่นเล็กน้อย เป็นน้ำจิ้ม ให้ผู้ฟังรู้ว่าเรื่องที่พวกเขากำลังจะฟังนั้นเกี่ยวกับอะไร
ประโยคที่เป็นประโยชน์ในการเปิดพรีเซนเทชั่น:
“Hello, ladies and gentlemen, thank you for coming…”
“The topic of today’s meeting is…”
“Let’s get the ball rolling”
“Shall we get started?”
การอธิบายถึงเค้าโครงของพรีเซนเทชั่นนั้นสำคัญมาก เพราะผู้ฟังต้องทราบเหตุผลว่าทำไมพวกเขาถึงต้องฟังคุณ การเปิดพรีเซนเทชั่นที่ดีต้องน่าสนใจ และเป็นที่น่าจดจำ
ประโยคที่เป็นประโยชน์ในการพูดถึงเค้าโครงพรีเซนเทชั่น:
“I’d like to give you a brief outline of my presentation…”
“Here is the agenda for the meeting…”
“My presentation consists of the following parts…”
“The presentation is divided into four main sections…”
โดยปกติแล้วหากผู้ฟังมีข้อสงสัย มักจะเก็บคำถามไว้ถามหลังจบการนำเสนองาน เพื่อให้ผู้พูดสามารถอธิบายครอบคุมสาระสำคัญทั้งหมดโดยไม่ถูกขัดจังหวะ แต่ถ้าหากคุณอยากให้ผู้ฟังถามคำถามระหว่างที่คุณกำลังนำเสนองาน ก็สามารถบอกให้ผู้พูดถามคำถามได้ตลอดเวลาหากเกิดข้อสงสัย
ประโยคที่เป็นประโยชน์ในการเปิดโอกาสให้ผู้ฟังถามคำถาม:
“There will be a Q&A session after the presentation”
“Please feel free to interrupt me if you have any questions”
“I will be happy to answer your questions at any time during the presentation”
การใช้คำเชื่อม หรือ วลีต่างๆ ในการเชื่อม หรือเปลี่ยนหัวข้อ จะทำให้การนำเสนองานของคุณมีความต่อเนื่อง ฟังดูลื่นไหล และเป็นธรรมชาติ
คำเชื่อม และวลี ที่เป็นประโยชน์ในการเปลี่ยนหัวข้อ:
“I’d like to move on to another part of the presentation…”
“Now I’d like to look at…”
“For instance…”
“In addition…”
“Moreover…”
“This leads me to the next point…”
ถ้าคุณไม่รู้สึกตื่นเต้นกับพรีเซนเทชั่นของตัวเอง ก็อย่าหวังว่าผู้ฟังจะชอบพรีเซนเทชั่นของคุณ คุณสามารถทำให้พรีเซนเทชั่นของขึ้นน่าสนใจ หรือน่าตื่นเต้น ด้วยการใช้ adjective หรืออธิบายให้ผู้ฟังเห็นภาพตาม และมีความรู้สึกร่วม ซึ่งสามารถช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ฟังให้ตั้งใจฟังพรีเซนเทชั่นของคุณ
Adjective ที่ช่วยสร้างอารมณ์ร่วมให้กับผู้ฟัง:
“extraordinary.”
co
“This video is awesome”
“This is an outstanding example”
ถ้าหากคุณต้องการนำเสนอข้อมูลที่เป็นตัวเลข แนะนำให้มีสื่อที่ทำให้เห็นภาพมากขึ้นอย่าง ชาร์ต กราฟ หรือแผนภูมิ จะทำให้ข้อมูลดูน่าสนใจ และเข้าใจง่ายขึ้น
ประโยคที่เป็นประโยชน์ในการอธิบายข้อมูลที่เป็นตัวเลข:
“Here are some facts and figures”
“The pie chart is divided into several parts”
“The numbers here have increased or gone up”
“The numbers change and go down (decrease)”
“The numbers have remained stable”
ในช่วงท้ายของพรีเซนเทชั่น ควรมีการสรุปย่อเนื้อหาหลัก ความคิดเห็น และบอกจุดประสงค์ของพรีเซนเทชั่นว่าคุณต้องการให้ผู้ฟังทำอะไรต่อจากข้อมูลที่ได้รับในการนำเสนองานของคุณ และจบการพรีเซนต์ด้วยการขอบคุณผู้ฟัง และเปิดโอกาสให้ถามคำถามหากมีข้อสงสัย
ประโยคที่เป็นประโยชน์ในการสรุปพรีเซนเทชั่น:
“Let’s summarize briefly what we’ve looked at…”
“In conclusion…”
“I’d like to recap…”
“I’d like to sum up the main points…”
เราแนะนำให้คุณลองฟังตัวอย่าง public speaking ตามช่องทางต่างๆ อย่างเช่น TED Talks ก็เป็นแหล่งรวมของนักพูดเก่งๆ มากมาย เพื่อเป็นตัวอย่าง ลองสังเกตคำพูด น้ำเสียง หรือท่าทางแล้วนำมาปรับใช้ให้เข้ากับตัวเอง แล้วก็ฝึก ฝึก ฝึก ฝึกแล้วก็ฝึกอีก เพื่อลดความเครียด และเพิ่มความมั่นใจ คุณสามารถฝึกต่อหน้าเพื่อน ครอบครัว หรือกับตัวเองหน้ากระจกก็ได้เช่นกัน
หากคุณสนใจฝึกทักษะ “พูดภาษาอังกฤษในที่ทำงาน” สามารถลงชื่อขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางด้านภาษาอังกฤษ ที่จะช่วยวัดระดับการพูดของคุณออกมาเป็นเลเวล และแนะนำคอร์สฝึกพูดที่เหมาะกับคุณได้ที่เว็บไซต์โกลบิช ตามลิ้งก์นี้ได้เลยครับ ลงทะเบียนรับคำแนะนำด้านภาษาอังกฤษสำหรับวัยทำงาน
สนใจอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคอร์สเรียน คลิกเลย เรียนภาษาอังกฤษกับโกลบิช