พร้อมทดสอบวัดระดับฟรี
9053 VIEWS | 3 MINS READ Monday 10 / 02 / 2020
“ให้ลูกเรียน EP แล้ว แต่ทำไมยังรู้สึกว่าลูกพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ทั้งยังอ่อนวิชาการอีก!”
นี่คงเป็นสิ่งที่คาใจคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านที่ส่งลูกเรียน EP อยู่ในปัจจุบัน
คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจกำลังพบว่าลูกของเราที่เรียน EP อยู่ทุกวันนี้มีปัญหาหลัก ๆ คือ มีทักษะการฟังภาษาอังกฤษที่ดี แต่พอให้พูดหรือตั้งคำถามเมื่อไหร่กลับนึกไม่ออก-พูดไม่ได้ ทั้งยังใช้ภาษาอังกฤษแบบผิดหลักภาษา และยังอ่อนวิชาพวกคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์อีกด้วย
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุทั้งตัวโรงเรียนเอง หลักสูตรเอง หรือแม้กระทั้งตัวเด็กเอง และจากหนังสือ “ปูทางให้ลูกไปสู่เส้นชัยที่ลูกหวัง” โดย ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ได้อธิบายว่าเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้ลูกเรา พูดภาษาอังฤษไม่ได้ พูดผิด และไม่เก่งวิชาการ เกิดจาก ‘หลักสูตร EP ที่ด้อยคุณภาพ’ ซึ่ง Globish Kids ได้รวบรวมวิธีทำให้น้อง ๆ พูดภาษอังกฤษได้ และเก่งวิชาการไปพร้อม ๆ กันมาฝากกันค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบว่า ลูกเราไม่เก่งวิชาการเพราะหลักสูตรของ EP มีเนื้อหาไม่เข้มข้นเท่าหลักสูตรปกติรึเปล่า เพราะการเรียนหลักสูตร EP นั้นเน้นการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นการเรียนวิชาเลขหรือวิทย์ป็นภาษาอังกฤษอาจจะมีเนื้อหาที่ยังไม่เข้มข้นพอ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถรู้ได้ว่าความรู้ตรงส่วนไหนที่น้องยังขาดไป และสามารถเสริมความรู้เหล่านั้นได้อย่างถูกจุด
คุณพ่อคุณแม่คงคิดเหมือนกันว่า ครูที่มีความสามารถทางวิชาการและภาษาอังกฤษที่ดีเป็นหนึ่งปัจจัยที่สามารถแก้ปัญหาข้างต้นได้ เพราะครูเหล่านี้จะมีเทคนิคเฉพาะด้านเกี่ยวกับวิชานั้น ๆ และยังสามารถถ่ายทอดออกไปเป็นภาษาอังกฤษได้ไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้นการตรวจสอบและหาครูเหล่านี้ให้น้อง ๆ จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านสามารถทำได้
ที่น้อง ๆ ฟังภาษาอังกฤษออก แต่พูดไม่ได้และไม่ถูกต้อง เป็นเพราะการเรียนในระบบห้องเรียนขนาดใหญ่นั้นเน้นการสื่อสารทางเดียว ถึงจะเป็นการเรียน EP ก็ดี เพราะคุณครู 1 คนไม่สามารถพูดคุยและเข้าถึงนักเรียน 30-40 คนในห้องเรียนได้ ดังนั้นการหากิจกรรมนอกห้องเรียนที่ทำให้น้อง ๆ ได้สื่อสารภาษาอังกฤษมากขึ้น ได้พูดเยอะขึ้น ได้ตั้งคำถาม จะทำให้น้อง ๆ ได้ฝึกทักษาทั้งการฟังและพูด ไปพร้อม ๆ กัน
อย่างไรก็ตาม การเรียนในหลักสูตร EP ที่มีคุณภาพ จะทำให้น้อง ๆ มีทักษะทางภาษาอังกฤษที่ดี และมีทักษะทางวิชาการที่ไม่แพ้เด็กที่เรียนแบบปกติตามงานวิจัยของ Ramirez et al. (1991) และ Thomas & Collier (2002)