6 เคล็ดลับแก้เครียดก่อนพรีเซนต์งาน

28797 VIEWS | 3 MINS READ Monday 20 / 01 / 2020


How to Calm Your Presentation Nerves

ท้องเริ่มปั่นป่วน ปวดหน่วงๆ มือเริ่มเปียกจากเหงื่อที่พรั่งพรู หัวสมองเริ่มตื้อ คิดอะไรไม่ออก จำอะไรไม่ได้ ขาสั่น……...อาการเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกว่าคุณป่วย หรือกำลังจะขาดลมหายใจ แต่อาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากความรู้สึกตื่นตระหนก ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกๆ คนเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์ที่น่าตึงเครียด ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอย่างการพูดต่อหน้าคนเยอะๆ หรือเวลาที่คุณต้องนำเสนอผลงาน พรีเซนเทชั่นต่างๆ การที่จะต้องพูดต่อหน้าคนเยอะๆ (ถึงแม้จะเป็นเพื่อนๆ หรือคนรู้จักของคุณก็ตาม) หรือต้องนำเสนอพรีเซนเทชั่น เป็นสิ่งที่หลายๆ คนกลัว แต่นี่เป็นอีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นอย่างมากต่อการทำงาน ถ้าคุณกำลังกังวลอยู่กับพรีเซนเทชั่นที่จะถึงนี้ Globish มีวิธีที่จะช่วยให้คุณจัดการกับความรู้สึกประหม่านี้ และทำให้พรีเซนเทชั่นของคุณประสบความสำเร็จ

How Nervous Do You Feel?

เราจะไม่บอกให้คุณกำจัดความรู้สึกตื่นเต้นนี้ออกไป แต่เราให้คุณถามตัวเองว่าคุณรู้สึกตื่นเต้นมากแค่ไหน เพราะเชื่อหรือไม่ว่า คุณสามารถเปลี่ยนพลังลบๆ นี้นำมาใช้เป็นตัวช่วยให้คุณได้

เมื่ออะดรีนาลีนกำลังพลุ่งพล่านทำให้ร่างกายเปี่ยมไปด้วยพลังงาน คุณสามารถใช้โอกาสนี้ ในการทำให้การพูดของคุณฟังดูน่าตื่นเต้น และเพิ่มความน่าสนใจ และความน่าเชื่อถือ ซึ่งเรามี 6 tips ในการควบคุมความประหม่า โดยเคล็ดลับเหล่านี้จะช่วยให้คุณโฟกัสไปที่ผู้ฟังมากกว่าความรู้สึกของตัวเองในขณะนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้ให้ดีคือ “ถ้าคุณยิ่งไม่มั่นใจ คุณจะยิ่งกังวล” ถ้าคุณสามารถควบคุมความไม่แน่นอนได้ คุณก็จะยิ่งรู้สึกกังวลน้อยลงนั้นเอง 

6 เคล็ดลับแก้เครียดก่อนพรีเซนต์งาน

1. Know Your Audience

ปรึกษาผู้ฟังก็คุณจะนำเสนองาน ถ้าคุณมั่นใจว่าคุณกำลังจะนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง คุณจะยิ่งไม่รู้สึกวิตกกังวลo:

  • หาผู้ฟังกลุ่มเป้าหมาย (target audience)

  • ถามตัวแทนของกลุ่มผู้ฟังว่าอะไรคือสิ่งที่พวกเขาคาดหวังจากพรีเซนเทชั่นของคุณ

  • ลองให้ผู้อื่นตรวจสอบเนื้อหาว่ามีอะไรขาดตกไป หรือเยอะเกินจำเป็นหรือไม่

2. Know Your Material 

ไม่มีอะไรจะแย่ไปกว่าการพรีเซนต์งานที่คุณแทบไม่รู้จักเนื้อหาด้วยซ้ำ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณจำเป็นต้องเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นมาก่อนอยู่แล้ว คุณแค่จะต้องมีการเตรียมตัวมาล่วงหน้า อย่างน้อยถ้าคุณรู้ว่าผู้ฟังคาดหวังอะไรจากพรีเซนเทชั่นนี้ ก็เพียงพอแล้วที่คุณจะรู้ว่าต้องเตรียมเนื้อหาสำคัญอะไรบ้าง อีกอย่างหนึ่งที่ควรจำให้ขึ้นใจเลยก็คือ คุณไม่สามารถยัดทุกอย่างที่คุณรู้ใส่ไปในพรีเซนเทชั่นตัวเดียวได้ เพราะผู้ฟังคงนั้งฟังจนหลับไป 3 ตื่นแล้วคุณก็ยังพรีเซนต์ไม่เสร็จสักที ดังนั้นเลือกนำเสนอแต่เนื้อหาสำคัญๆ แต่ถ้าหากเวลาเหลือก็อาจจะมีเวลาให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ 

Tip: การถามคำถามผู้ฟัง จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ และทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในพรีเซนเทชั่นของคุณ เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ให้ผู้ฟัง และยังทำให้บรรยากาศของการนำเสนองาน ดูเหมือนการสนทนา และยิ่งทำให้พรีเซนเทชั่นน่าจดจำ แถมให้คุณมีเวลาพักหายใจสักครู่หนึ่งอีกด้วย 

3. Structure Your Presentation

วิธีพิชิตความรู้สึกวิตกกังวลก่อนนำเสนองานแบบทั่วๆ ไปที่ใครๆ ทำกันก็คือ จำทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณจะพูดให้ได้ แต่นั้นจะทำให้คุณฟังดูเหมือนหุ่นยนต์ที่ถูกป้อนข้อมูลมาให้พูดแบบนั้น และถ้าเกิดเหตุคุณดันพูดผิด หรือลืม จะทำให้พรีเซนเทชั่นเหมือนถูกกดปุ่ม stop แล้วคุณก็จะเริ่มรู้สึกซู่ซ่าประหม่าขึ้นมา ดังนั้นควรวางโครงสร้างของเนื้อหาที่คุณจะนำเสนอดีกว่า เพื่อที่คุณจะได้รู้ว่าต่อไปคุณจะต้องพูดอะไร วิธีนี้จะช่วยลดความวิตกกังวลว่าคุณจะจำเนื้อหา และลำดับที่จะต้องพูดได้หรือเปล่า

  • จด  key phrases ใส่โพยเล็กๆ

  • ทำความเข้าใจเนื้อหา แล้วใช้ key phrases ในการบอกใบ้คุณว่าควรจะพูดถึงอะไร

  • ถ้าคุณใช้สไลด์โชว์ ให้ใส่ข้อความ key phrases ลงไปในสไลด์เลย

Tip: วิธีง่ายๆ ที่ได้ผลชัดๆ เลยก็คือ บอกผู้ฟังของคุณไปเลยว่าลำดับเนื้อหาในการพรีเซนต์งานของคุณมีอะไร หลังจากนำเสนอเสร็จ ก็ให้คุณสรุปเนื้อหารวมที่คุณเพิ่งพูดไป

4. Practice, Practice, Practice

ถึงเราจะบอกให้คุณเลี่ยงการพรีเซนต์งานแบบท่องจำ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ควรฝึกซ้อมการอธิบายเนื้อหา เพราะการสร้างความคุ้นเคยกับเนื้อหาที่คุณต้องพูดจะช่วยเสริมความมั่นใจได้อย่างมาก และการการฝึกซ้อมจะช่วยให้คุณถ่ายทอดเนื้อหาได้อย่างเป็นธรรมชาติ หมายความว่าข้อมูล เนื้อหาต่างๆ ที่คุณจะพูดจะออกมาจากในสมองของคุณ ไม่ใช่จากแผ่นกระดาษ

  • ทำความเข้าใจลำดับข้อมูล และเนื้อหาที่จะนำเสนอ

  • ถ้าคุณต้องท่องจำจริงๆ อนุญาตให้แค่ท่อนแนะนำตัว และการเปิดพรีเซนต์เท่านั้น

  • ลองถ่ายวิดีโอขณะที่คุณซ้อม เพื่อที่คุณจะได้เห็นตัวเองจากมุมมองของผู้ฟัง และจะได้รู้ว่าควรปรับ หรือเสริมจุดไหน

  • อัดเทปขณะซ้อมพูด เพื่อฟังน้ำเสียง และความเร็ว และสิ่งที่ต้องปรับให้เหมาะสม

  • ฝึกซ้อมกับผู้ฟังกลุ่มเล็กๆ ก่อนจะไปลงสนามจริง อาจจะลองชวนเพื่อนร่วมงานของคุณมาฟังในระหว่างพักกลางวัน

5. Prepare, Prepare, Prepare

ถ้าคุณรู้ว่าคุณจะต้องพูดอะไรแล้ว คุณก็จะต้องรู้ว่าคุณจะต้องเตรียมตัวอย่างไรสำหรับวันจริง

  • เลือกเสื้อผ้าตัวเก่งที่ใส่สบาย และเหมาะสม

  • ไปถึงสถานที่ก่อนเพื่อเตรียมเซ็ตอุปกรณ์

  • คาดการณ์ถึงปัญหา และเตรียมแผนสำรองให้เรียบร้อย เพื่อที่คุณจะได้รับมือกับสถานการณ์ได้ทัน

  • ถ้าเป็นไปได้ลองซ้อมกับสถานที่จริง

ค้นหาคอร์สที่เหมาะกับคุณ
พร้อมทดสอบวัดระดับฟรี


   หรือ    โทรเลย 02-026-6683