พร้อมทดสอบวัดระดับฟรี
654691 VIEWS | 5 MINS READ Thursday 22 / 02 / 2018
คำแนะนำ : คุณควรรู้จักบริษัทที่คุณสมัคร และรู้ถึงข่าวสารล่าสุดที่บอกถึงทิศทางที่บริษัทกำลังจะไป และที่สำคัญคุณต้องรู้ว่าตำแหน่งคุณต้องเข้ามาแก้ปัญหาในด้านไหน
สำหรับการตอบคำถามให้ตอบว่า “ทำไมคุณถึงเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้” คุณจะเข้ามาช่วยสร้างอะไรให้กับบริษัท และคุณจะได้อะไรตอบแทนที่นอกเหนือจากตัวเงิน เช่น ความต้องการพิสูจน์ตัวเอง เป็นต้น
“I want this job because it emphasizes sales and marketing, two of my greatest skill sets. I know I could bring my ten years of sales and marketing experience to this company, and help you continue your years of growth.”
ดิฉันต้องการงานตำแหน่งนี้เพราะมันจะช่วยต่อยอดทักษะด้ายการขายและการตลาดซึ่งเป็นสองทักษะที่ดีที่สุดของดิฉัน ดิฉันเชื่อว่าดิฉันสามารถนำเอาประสบการณ์การขายและการตลาดกว่า 10 ปีที่ดิฉันมีมาใช้กับที่นี่ได้ และช่วยให้บริษัทของคุณมียอดขายเติบโตในทุกๆปีค่ะ
“I understand that this is a company on the rise. As I’ve read on your website and in various press releases, you are planning to launch several new products in the coming months. I want to be a part of this business as it grows, and I know my experience in product development would help your company as you roll out these products.”
ดิฉันเชื่อว่าบริษัทอยู่ในช่วงขาขึ้นนะคะ จากที่ดิฉันได้อ่านข้อมูลจากเว็บไซต์และข่าวต่างๆ ทางบริษัทของคุณมีแผนที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่หลากหลายรายการในเดือนที่จะมาถึงนี้ ดิฉันอยากเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของบริษัทค่ะ และดิฉันรู้ว่าประสบการณ์ทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดิฉันมี จะช่วยบริษัทของคุณในเรื่องของการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ว่านี้ได้ค่ะ
“This job is a good fit for what I've been doing and enjoying throughout my career. It offers a mix of short-term projects and long-term goals. My organizational skills allow me to successfully multitask and complete both kinds of projects.”
งานนี้เหมาะเจาะกับสิ่งที่ดิฉันทำและดิฉันสนุกกับมันในอาชีพของดิฉันค่ะ มันสร้างโอกาสให้ดิฉันได้ทำโปรเจ็คระยะสั้นและระยะยาวผสมผสานกัน ทักษะการจัดการที่ดิฉันมีนั้นจะช่วยให้ดิฉันสามารถทำทั้งสองอย่างได้สำเร็จลุล่วงค่ะ
ข้อควรระวัง : ถึงแม้การตอบว่าเงินเดือนดี สวัสดิการดี หรือบ้านใกล้จะเป็นคำตอบที่แท้จริงในใจคุณ แต่มันไม่ได้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ตัวคุณ อย่าลืมว่าผู้สัมภาษณ์ต้องการวัดทัศนคติในการเรียนรู้ และความมุ่งมั่นในการทำงานของคุณด้วย ฉะนั้นอย่าลืมตอบให้ดู “มีไฟ” ด้วยนะครับ
คำแนะนำ : หลายๆบริษัทมักจะถามคุณอยู่แล้วว่าทำไมคุณกำลังจะออกจากงาน หรือคุณออกจากที่เก่าเพราะอะไร ทั้งนี้เพื่อที่จะได้รู้ว่าคุณลาออกมาเองหรือถูกให้ออกจากงานเนื่องจากความผิดพลาดในการทำงานบางอย่างหรือเปล่า อย่างไรก็ตาม คำตอบของคุณควรจะทำให้คุณดูดีอยู่ดี ไม่ว่าจะมาจากเหตุผลอะไรก็ตามนะครับ
“จงโฟกัสที่ปัจจุบันและอนาคต มากกว่าประสบการณ์ในอดีต”
สิ่งที่คุณสามารถใช้เป็นตัวช่วยในการหลีกเลี่ยงคำตอบตรงๆ ในเรื่องประสบการณ์การทำงานที่เก่าก็คือการพูดถึง “แพสชั่น” หรือความคาดหวังส่วนตัวของคุณที่มีต่อชีวิตการทำงาน โดยโฟกัสว่างานใหม่นี้จะมอบโอกาสทางการทำงานให้คุณอย่างไรได้บ้างนั่นเอง
มาดูตัวอย่างคำตอบกันนะครับ
คุณกำลังมองหาความท้าทาย --- “I found myself bored with the work and looking for more challenges. I am an excellent employee, and I didn't want my unhappiness to have any impact on the job I was doing for my employer.” ผมพบว่าผมเบื่องานเดิมและต้องการมองหาความท้าทายใหม่ๆ ผมเป็นลูกจ้างที่ดีนะครับ และผมไม่ต้องการให้ “ความรู้สึกไม่มีความสุข” ของผมนั้นมากระทบกับงานที่ทำที่บริษัทเดิมครับ
คุณกำลังมองหาความก้าวหน้า --- “There isn't room for growth with my current employer, and I'm ready to move on to a new challenge.” ผมไม่มีโอกาสได้ก้าวหน้าในที่ทำงานเดิมเลยครับ และผมเองพร้อมแล้วที่จะเจอความท้าทายใหม่ๆ
คุณโดนเลย์ออฟมา --- “I was laid off from my last position when our department was eliminated due to corporate restructuring.” ผมถูกให้ออกเพราะแผนกที่ผมทำงานอยู่ถูกยุบ เนื่องจากบริษัทนั้นได้ทำการปรับโครงสร้างองค์กรครับ
คุณมีเหตุผลส่วนตัว --- “I'm relocating to this area due to family circumstances and left my previous position in order to make the move.” ผมย้ายมายังที่นี่เนื่องจากสถานการณ์ทางด้านครอบครัวของผมครับ ผมจึงต้องลาออกจากงานเดิมมา
คุณคิดว่างานเก่าไม่ใช่งานในฝัน --- “I've decided that my current work role is not the direction I want to go in my career and my current employer has no opportunities in the direction I'd like to head.” ผมคิดว่างานเก่านั้นไม่ได้เป็นไปในทิศทางที่ผมต้องการจะเติบโต และนายจ้างก็ไม่ได้เปิดโอกาสให้กับทิศทางที่ผมต้องการจะไปครับ
คุณเพิ่งเรียนจบ --- “I recently received my degree, and I want to utilize my educational background in my next position.” ผมเพิ่งได้รับปริญญามา และผมต้องการใช้ความสามารถจากพื้นฐานการศึกษาที่ผมมีกับงานใหม่นี้ครับ
คุณเบื่อการเดินทาง --- “I was commuting to the city and spending a significant amount of time each day on travel. I would prefer to be closer to home.” ผมเคยต้องเดินทางเข้าเมืองและใช้เวลาอย่างมากมายในการเดินทาง ผมจึงอยากที่จะได้ทำงานใกล้บ้านมากขึ้นน่ะครับ
คุณโดนให้ออก --- “The company was cutting back and, unfortunately, my job was one of those eliminated.” บริษัทเก่าลดต้นทุน และโชคร้ายที่งานของผมก็เป็นหนึ่งตำแหน่งที่โดนโละครับ
ข้อควรระวัง : อย่าด่าเจ้านายเก่า! เพราะโลกธุรกิจนั้นเชื่อมโยงกันไปหมด เผลอๆบริษัทเก่าที่คุณลาออกมา กลับกลายเป็นลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์เจ้าสำคัญของบริษัทใหม่ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้ ซึ่งผู้สัมภาษณ์คงไม่อยากจ้างคนที่ด่า “ลูกค้าคนสำคัญ” ของเขาอย่างเสียๆหายๆใช่ไหมล่ะครับ
คำแนะนำ : คำถามข้อนี้ สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์อยากรู้มากที่สุดคือ “ความเครียดปริมาณมากแค่ไหน ที่จะส่งผลต่อการทำงานของคุณ” และคุณจะจัดการมันได้อย่างไรโดยไม่กระทบกับการทำงานในแต่ละวัน คุณสามารถตอบโดยเล่าถึงสถานการณ์ในอดีตว่าคุณเคยจัดการกับปัญหาที่สร้างความเครียดให้คุณอย่างไรบ้าง คุณอาจบอกว่าเคสที่คุณเล่านั้นได้ทำให้คุณเครียด แต่ความเครียดปริมาณดังกล่าวทำให้คุณรู้สึกตั้งใจทำงานมากขึ้น และทำให้คุณรู้สึกท้าทาย เป็นต้น
ถ้าความเครียดที่เคยเกิดขึ้นกับคุณเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นโดยปกติตามเนื้องาน (ซึ่งมักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้) คุณไม่ควรกล่าวถึงมันนะครับ เช่น ถ้าคุณสมัครงานตำแหน่งพนักงานขาย แต่คุณบอกผู้สัมภาษณ์ว่าคุณเครียดเวลาต้องคุยกับคนเยอะๆ (อ้าว...) หรือคุณสมัครเป็นโปรเจ็คแมเนเจอร์ แต่ดันไปบอกว่าเครียดเวลาทำงานหลายๆอย่างพร้อมกัน (เอ๊ะ!) แบบนี้คงหมดโอกาสได้งานกันพอดีจริงไหมครับ
ตัวอย่างการตอบที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ก็คือ...
“I actually work better under pressure, and I've found that I enjoy working in a challenging environment.” จริงๆแล้วดิฉันสามารถทำงานได้ดีขึ้นภายใต้ความกดดันนะคะ ดิฉันพบว่าดิฉันนั้นชอบทำงานในสภาวะที่ท้าทายความสามารถค่ะ”
“I find that when I'm under the pressure of a deadline, I can do some of my most creative work.” ดิฉันพบว่าเมื่อดิฉันอยู่ในสภาวะที่ถูกกดดันด้วยวันเด้ดไลน์ ดิฉันจะสามารถทำงานได้อย่างมีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด
หรือจะบอกว่า “I react to situations, rather than to stress. That way, the situation is handled and doesn't become stressful.” ดิฉันเลือกที่จะจัดการกับสถานการณ์นั้นมากกว่าจะมานั่งเครียดกับมันนะคะ ด้วยวิธีนี้ทำให้ดิฉันควบคุมสถานการณ์นั้นไว้ได้และไม่เกิดเป็นความเครียดค่ะ
โดยคุณอาจยกตัวอย่างให้ผู้สัมภาษณ์ฟัง โดยใช้คำว่า “For example”
“For example, when I deal with an unsatisfied customer, rather than feeling stressed, I focus on the task at hand. I believe my ability to communicate effectively with customers during these moments helps reduce my own stress in these situations and also reduces any stress the customer may feel.”
เมื่อดิฉันต้องดูแลลูกค้าที่รู้สึกไม่พึงพอใจกับสินค้า แทนที่ดิฉันจะเครียด ดิฉันกลับมาโฟกัสที่งานที่ดิฉันต้องแก้ไขมากกว่า ซึ่งดิฉันเชื่อมั่นว่าความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับลูกค้าของดิฉันนั้น จะช่วยลดความเครียดในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ และยังทำให้ลูกค้าไม่รู้สึกเครียดไปด้วย