พร้อมทดสอบวัดระดับฟรี
587683 VIEWS | 5 MINS READ Monday 12 / 03 / 2018
ไหนใครไม่เคยส่งอีเมลสมัครงานเป็นภาษาอังกฤษบ้าง ยกมือขึ้น! ...โอ้โห เยอะเหมือนกันนะครับเนี่ย แต่ขอบอกเลยครับว่าเรื่องนี้ “จำเป็นต้องรู้” เพราะเดี๋ยวนี้ไม่ว่าบริษัทต่างชาติหรือบริษัทไทย ก็มักจะให้คุณส่งอีเมลเป็นภาษาอังกฤษทั้งนั้นแหละ ...งั้นเราไปดูกันเลยดีกว่า ว่า 8 ขั้นตอนมีอะไรบ้าง
ขั้นตอนที่ 1 : ระบุชื่อเรื่องอีเมลให้ชัดเจน ชัดเจน ชัดเจน!
หัวข้ออีเมลเป็นจุดแรกที่ HR เริ่มพิจารณาว่าจะ “เปิดอ่าน” หรือ “คัดออก” เพราะถ้าคุณเขียนแบบ “ไม่มืออาชีพ” หรือ “เขียนผิด” ตั้งแต่หัวข้อ HR คงกดลบอีเมลคุณทิ้งอย่างไม่ใยดี
ตัวอย่างประโยคที่ควรใช้ :
- Apply for (ชื่อตำแหน่ง) Position - (ชื่อ-นามสกุล)
- หรือแค่ (ชื่อตำแหน่ง) Position - (ชื่อ-นามสกุล)
สั้นๆ ง่ายๆ ได้ใจความแบบนี้แหละครับ
ขั้นตอนที่ 2 : เขียนวันที่ให้ถูกต้อง
ข้อที่สองนี้ บางคนอาจจะสงสัยว่า “จำเป็นต้องเขียนวันที่ด้วยเหรอ” ดูที่ตัวอีเมลเอาก็ได้มั้ง ก็จริงอยู่ว่า HR สามารถดูวันที่จากอีเมลที่คุณส่งไปได้ แต่คงจะดีกว่าถ้าเปิดมาแล้วพบคุณเริ่มต้นด้วยการเขียนวันที่เพื่อย้ำเตือนว่าอีเมลของคุณถูกส่งมาตั้งแต่วันไหน เพื่อ HR จะได้เห็นชัดๆ และพอจะทราบได้ทันทีว่าอีเมลสมัครงานของคุณ เป็นอีเมลที่เพิ่งถูกส่งมาใหม่ๆ ไม่ใช่อีเมลที่ค้างคาอยู่ในแอ็กเคานต์ที่ HR ลืมเปิดเอง
ตัวอย่างการเขียนวันที่ :
- 11 March 2018
- March 11, 2018
ขั้นตอนที่ 3 : ชื่อผู้รับ ตำแหน่ง ชื่อบริษัท
คุณจะสมัครงานที่บริษัทไหนก็ควรจะระบุชื่อบริษัทลงไปด้วย ไม่ควรเขียนเหมือนกันทุกอีเมลแล้วฟอร์เวิร์ดไปทีเดียว 10 บริษัท เพราะมันดูไม่เป็นมืออาชีพและดูเหมือนไม่ได้ใส่ใจ หรือไม่อยากได้งานนี้จริงๆนะครับ ฉะนั้นจุดที่สามนี้คุณควรระบุชื่อผู้รับ (ในกรณีที่คุณทราบว่าส่งให้ใคร) ระบุตำแหน่ง และชื่อบริษัทให้ถูกต้อง
ตัวอย่างการเขียนชื่อผู้รับ :
- Mr./Mrs./Ms. (ชื่อ-นามสกุล)
- Human Resources Manager
- XYZ Company
ขั้นตอนที่ 4 : เปิดประโยคอย่างสุภาพชน
คนไทยเรามักจะนึกไม่ค่อยออกว่าควรจะขึ้นต้นจดหมายว่าอะไร เพราะในภาษาพูดเราก็ใช้ “Good morning / Hello / Hi” ซึ่งคำเหล่านี้มักจะไม่ใช้ในการเขียนอีเมล คำที่ควรใช้นั้นจริงๆแล้ว คือคำว่า “Dear” นั่นเอง
ตัวอย่างประโยคที่ควรใช้ :
- Dear Mr. / Mrs. / Ms. (ชื่อผู้รับ)
- ถ้าไม่ทราบชื่อผู้รับก็ Dear Mr. / Mrs. / Ms. เฉยๆก็ได้ครับ
- หรือจะใช้ Dear Contact Person แบบนี้ก็ได้ครับ
ขั้นตอนที่ 5 : บอกเขาว่าคุณส่งมาสมัครงาน
แน่นอนว่าเมื่อเริ่มเข้าสู่เนื้อหาจดหมายแล้ว คุณควรพิมพ์แจ้งว่าคุณส่งอีเมลนี้มาเพื่อวัตถุประสงค์อะไร คุณสนใจสมัครตำแหน่งอะไร และอาจบอกเพิ่มว่าคุณไปเห็นตำแหน่งนี้มาจากที่ไหน
ตัวอย่างประโยคที่ใช้ได้ :
- I am writing to apply for the (ชื่อตำแหน่ง) position advertised in the JobsDB.
- I'm writing to express my interest in the (ชื่อตำหน่ง) position listed on Goodjobs.com.
ขั้นตอนที่ 6 : เล่าเกี่ยวกับตัวเองคร่าวๆ
ก่อนที่ HR จะกดดูเรซูเม่ของเรา เราควรจะสร้างความน่าสนใจตั้งแต่ในอีเมล์เสียก่อน โดยคุณอาจทบทวนดูว่างานที่คุณกำลังสมัครนี้ต้องการทักษะหรือประสบการณ์แบบใดเป็นพิเศษหรือไม่ โดยคุณควรกล่าวถึงทักษะหรือประสบการณ์นั้นๆ เพื่อทำให้โปรไฟล์ของคุณดูน่าสนใจ และยังเป็นการสร้างความสนิทสนมกับผู้รับอีเมลในขั้นแรกอีกด้วย
ตัวอย่างการแนะนำตัว :
The opportunity presented in this job description is very interesting, and I believe that my experience and my educational background will make me a very competitive candidate for this position.
With a MBA degree in Finance and Investment, I have a full understanding of the Business Finance and I also have experience in Accounting.
นอกจากการพูดข้อดีของเราที่เหมาะสมกับตำแหน่งแล้ว ถ้าคุณเคยมีประสบการณ์การทำงานมาก่อน ก็ควรบอกด้วยว่ามี Experiance อะไรบ้างโดยลิสต์เป็นข้อๆ ว่าทำงานอะไรมา รับผิดชอบโปรเจ็คท์อะไร เป็นต้น
และถ้าหากคุณมีเอกสารแนบ เช่น เรซูเม่ พรีเซนเทชั่น ใบรับรอง หรือตัวอย่างพอร์ทผลงานของคุณ สามารถแจ้งเพิ่มเติมได้ว่า “I am enclosing a completed job application, my certification, my resume, and my portfolio.” คุณได้แนบใบสมัครที่กรอกแล้ว ใบรับรอง/ใบประกาศ เรซูเม่ และพอร์ทฟอลิโอมาด้วย
ขั้นตอนที่ 7 : จบอีเมลด้วยการขอบคุณและบอกช่องทางการติดต่อกลับ
หลังจากที่เราบอกเล่าเรื่องราวของตัวเองคร่าวๆ เราควรจบอีเมลด้วยประโยคเช่น “Please see my resume for additional information on my experience.” กรุณาดูเรซูเม่เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ และขอบคุณผู้รับที่สละเวลาอ่านอีเมลของคุณว่า “Thank you for your time and consideration.” ซึ่งตรงนี้เป็นมารยาทสากลที่คุณควรขอบคุณผู้พิจารณาอีเมลของคุณ หลังจากนั้นคุณควรทิ้งช่องทางการติดต่อให้กับทางบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทร อีเมลนี้ หรือสะดวกให้นัดพบ ก็ควรแจ้งไปในอีเมล์ด้วยเลย
ตัวอย่างการแจ้งช่องทางติดต่อกลับ :
- I can be reached anytime via email at example@gmail.com or my cell phone, 099-123-4567.
- I can come and visit your office at anytime.
- I can be reach at 099-123-4567.
- I look forward to speaking with you about this employment opportunity.
ขั้นตอนที่ 8 : ลงชื่อจบสวยๆ
สิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรทำ (แต่มักทำพลาดบ่อยๆ) คือการจบอีเมลด้วยคำว่า Thank you ซึ่งเป็นคำที่ดูไม่เป็นทางการ ไม่เหมาะสมสำหรับการติดต่อเรื่องงาน ซึ่งคำที่ควรใช้ก็มีให้เลือกอยู่หลายคำ
ตัวอย่างคำที่ควรใช้ :
- Best regards,
- Yours sincerely,
- Yours faithfully,
- Sincerely,
และลงท้ายด้วยชื่อ-นามสกุลของคุณ
เท่านี้ก็ดูเป็นทางการแล้วครับ!
ครบแล้ววว 8 ขั้นตอน อ่านจบปุ๊บ เขียนอีเมล์สมัครงานเป็นปั๊บ!
แต่หากคุณต้องการที่จะเรียนรู้การเขียนอีเมลให้ครบทุกประเภทของอีเมล ไม่ว่าจะเป็นอีเมลติดต่อลูกค้า อีเมลสอบถาม การตอบรับอีเมลผู้อื่น รวมทั้งการเลือกใช้ภาษาที่เป็นทางการในการเขียนอีเมล Globish มีคอร์ส Business Email Writing ที่จะช่วยให้คุณเขียนอีเมลได้อย่างมืออาชีพ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/35qNiT3